วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนะนำสื่อการเรียนออนไลน์ Thai Cyber University.

สวัสดีครับ....วันนี้ผมจะมานำเสนอเว็บไซต์ที่น่าสนใจอีกเว็บไซต์หนึ่งนะครับ สำหรับผู้ที่ต้องการหาข้อมูล ความรู้เสริม เหมาะสำหรับ น้อง ๆ ในมหาวิทยาลัยทุกระดับชั้นเลยครับ  เว็บที่ว่านั้น คือเว็บของ โครงการ TCU (Thailand Cyber University Project) ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  ร่วมกับ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ  

 

TCU จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง ที่จะประสานงานกับมหาวิทยาลัยและ สถาบันการศึกษาต่างๆ ในการจัดทำหลักสูตร online ร่วมกัน    มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา จะเป็นเจ้าของหลักสูตรและเป็นผู้อนุมัติปริญญาบัตร แก่นักศึกษาที่เรียนจบหลักสูตร โดยมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา สามารถใช้ชุดวิชาบทเรียน online ในหลักสูตร ร่วมกัน ทั้งนี้ การให้บริการหลักสูตร online จะใช้ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (Inter-University Network: UniNet) ทีได้มีการเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาทั่วประเทศแล้ว

 

ขั้นตอนการเข้าใช้งานเว็บไซต์ก็ไม่ยากครับ โดยเข้าถึงได้จาก URL : http://lms.thaicyberu.go.th/ หรือจะค้นหาจาก Google โดยใช้ Keyword : TCU ก็ได้ครับ

รูปที่ 1 ขั้นตอนการเข้าใช้งาน TCU โดยค้นหาจาก Google












วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การตั้งค่า AD HOC บน window 7 Starter.

ขั้นตอนการ set ADHOC ให้กับ Window 7 Starter


วันนี้ผมกำลังนั่งเตรียมเอกสารการสอนรายวิชาหนึ่ง ก็นึกขึ้นได้ว่าปลายสัปดาห์จะต้องออกไปทำกิจกรรมกับทีมงานสโมสรนักศึกษานอกสถานที่ และต้องทำกิจกรรมกลุ่ม ในฐานะที่เป็นอาจารย์ทางด้าน IT จำเป็นจะต้องทำการนำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมไปด้วย

สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือคอมพิวเตอร์ notebook  printer และ internet นอกเหนือจาก internet จากโทรศัพท์มือถือแล้ว เวลาทำงานกลุ่มกัน อาจจะไม่สะดวกสักเท่าไร air card จะเป็นอุปกรณืที่จำเป็นและสำคัญมาก

ผมนั่งคิดว่าเราจะทำการแชร์อินเทอร์เน็ตอย่างไรดี เนื่องจากถ้าเราจะใช้อินเทอร์เน็ตนั้นที่โรงแรมที่พักมีให้บริการอยู้แล้ว ที่แน่นอนว่า ค่าใช้จ่ายต้องแพงด้วยแน่ ๆ ผมเลยคิดได้ว่าเมื่อก่อนเคยทำการสร้างระบบ ADHOC คอมพิวเตอร์ใช้งานชั่วคราวแชร์ไฟล์ อินเทอร์เน็ตกันอยู่กับกลุ่มเพื่อน ๆ และทีมงาน

วันนี้ผมเลยทดลอง set ADHOC เครื่องคอมพิวเตอร์ Netbook คู่ใจของผมดู ก็ไม่สามารถติดตั้งได้ เพราะเป็น Window 7 Starter หาเมนูในการ set เท่าไรก็ไม่เจอ สืบข้อมูลไปจนพบว่า ใน window 7 Starter นั้น ไม่มีฟังก์ชั่นของ ADHOC แสดงไว้ในส่วนของ Network Share

สำหรับโหมดการเชื่อมต่อไร้สายแบบ Ad-hoc จะเป็นวิธีที่คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ผ่าน Access point หรือ Router ซึ่งการสื่อสารด้วยโหมดนี้จะทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในโหมดเดียวกันและอยู่ใน ละแวกใกล้เคียงสามารถค้นพบ และสื่อสารกันได้แบบ peer-to-peer นั่นเอง

ส่วนขั้นตอนการ set ADHOC ให้กับ Window 7 Starter นั้น สามารถทำได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
คลิกเมนู Start โดยในช่อง Search พิมพ์คำว่า "adhoc" ก็จะพบฟังก์ชันดังกล่าวแล้ว  ซึ่งจะง่ายกว่าใน window ตัวอื่นๆ ที่มีวิธีการหรือ ขั้นตอนที่ซับซ้อน ดังภาพ

adhoc
รูปที่ 1 การติดตั้ง ad hoc บน window 7 starter
ขั้นตอนที่ 2
ระบบจะแสดงหน้าต่างสำหรับการติดตั้งดังรูปที่ 2 ให้ท่านกดปุ่ม next เพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป
 
รูปที่ 2 หน้าต่างการติดตั้ง AD HOC บน window 7 stater
ขั้นตอนที่3
ขั้นตอนนี้จะเป็นการตั้งค่าต่าง ๆ ให้กับระบบ โดยมีรายละเอียดการตั้งค่าต่าง ๆ ดังนี้
 
รูปที่ 3 แสดงการตั้งค่าต่าง ๆ ของการ set AD HOC บน window 7 starter
Network Name : ตั้งชื่อของ Network ที่จะสร้าง
Security Typeเลือกรูปแบบของระบบรักษาความปลอดภัย ในที่นี้เลือกเป็น WPA2-Personal แต่หากไม่ต้องการให้มี password (เครื่องใครก็เชื่อมต่อได้) ก็เลือกเป็น No authentication (Open)

โดยรูปแบบของการรักษาความปลอดภัย โดยมี 3 รูปแบบดังนี้


  • No Authentication (Open) : ไม่ต้องการใส่รหัสผ่านในการเข้าใช้งาน
  • WEP :  ความปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัวเสมือนระบบที่ใช้สาย
  • WPA2-Personal  : Wi-Fi Protected Access (WPA) มีความปลอดภัยมากกว่า WEP
  • ** รายละเอียดเกี่ยวกับ WEP และ WPA จะกล่าวในบทความครั้งต่อไปนะครับ **
Security key : ส่วนนี้ ให้ผู้ใช้งานใส่รหัสตามต้องการเพื่อเป็นการป้องกันการเข้าใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยทั่วไปจะตั้งรหัสไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษรนะครับ
รูปที่ 4 ขั้นตอนการตั่งค่ารูปแบบรหัสผ่าน และ การใส่รหัวผ่านให้ AD HOC
ขั้นตอนที่ 4  กดปุ่ม Next เพื่อดำเนินการต่อไป

รูปที่ 5 แสดงการเชื่อมต่อของระบบกับเครื่องเครือข่าย
รูปที่ 6 แสดงชื่อเครือข่ายที่ติดตั้งพร้อมใช้งาน

รูปที่ 7 แสดงเครือข่าย AD Hoc ที่ติดตั้งเสร็จสิ้น พร้อมใช้งาน

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก konmun.com  
ความจริง แล้ว ประเด็นที่ทำให้พบคุณสมบัติดังกล่าวอยู่ใน Windows 7 Starter นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้ เนื่องจากรูปแบบการอัพเกรดไปใช้ระบบปฎิบัติการเวอร์ชันต่างๆ ของ Windows 7 ซึ่งสิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำคือ ซื้อไลเซนส์ที่ถูกต้องมาป้อนให้กับระบบ โดยมันจะแตกต่างจาก Windows Vista ที่ต้องยึดติดกับแผ่นซีดี และต้องมีการติดตั้งไฟล์เพิ่ม นั่นหมายความว่า ไฟล์โปรแกรมทั้งหมดได้ถูกติดตั้งไว้ในฮาร์ดดิสก์แล้วไม่ว่าจะเป็น Windows 7 เวอร์ชันอะไรก็ตาม สิ่งที่ไฟล์เหล่านี้ต้องการคือ การกระตุ้นด้วยคีย์จึงจะใช้งานได้ ซึ่งความจริงในกรณีของ ad-hoc networking มันไม่น่าจะทำงานได้ แต่ก็ทำงานได้ (โค้ดถูกแอคติเวทแล้ว หรือไม่ต้องแอคติเวท) งานนี้น่าจะเกิดจากข้อผิดพลาดบางอย่าง (ที่ผู้ใช้ Windows 7 Starter ไม่โกรธ) ซึ่งคาดว่า มันจะถูกแก้ไขในอนาคต เอาเป็นว่า

คุณผู้อ่านท่านใดทีใช้ Windows 7 Starter อยู่ล่ะก็ ลองทำตามดูนะครับ ส่วนจะได้ผล หรือไม่ได้ผลอย่างไร? รบกวนแวะมาเล่าสู่กันฟังในคอมเมนต์ข้างล่างนี้ด้วยครับ 

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การติดตั้งอักษร (Fonts) ในระบบปฏิบัติการ Linux Ubuntu

การติดตั้งอักษร (Fonts) ในระบบปฏิบัติการ Linux Ubuntu

ก่อนอื่นต้องขอกล่าวทักทายท่านผู้อ่านทุกท่านนะครับ

บทความที่ผมจะนำเสนอวันนี้สืบเนื่องมาจากพักหลังๆ การใช้งานคอมพิวเตอร์ของผมกับระบบปฏิบัติที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้กันคือ ระบบปฏิบัติ Windows 7 (ของผมถูกลิขสิทธิ์นะครับ) เริ่มจะไม่เกิดความท้าทายสำหรับนัก IT  อย่างผม ..."อันนี้คิดเอาเองนะครับว่าผมเป็นนัก IT เพราะว่าสอนในสายคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ" 

เพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยมและจิตสำนึกในด้านการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ถูกลิขสิทธิ์อีกทั้งการใช้งานระบบปฏิบัติการที่นักศึกษาหรือบุคคลทั่วไปสามารถพัฒนา ปรับปรุง โครงสร้างของระบบได้ หรือที่เรียกว่า การใช้งานระบบโครงสร้างแบบเปิด หรือจะเรียกเป็นอย่างอื่น ก็สุดแล้วแต่ท่าน ๆ นะครับ

ระบบปฏิบัติการที่เป๋นที่นิยมกันในวงการของนักพัฒนาซอฟต์แวร์อีกระบบหนึ่ง ที่ทั้งถูกลิขสิทธิ์และไม่ต้องกังวลเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลของพวกภัยคุกคามต่างๆ ที่รู้จักในชื่อของระบบปฏิบัติการตระกูล Linux  ปัจจุบันก็ออกมาใช้ผู้ใช้งานได้ใช้กันก็มีอยู่หลากหลาย อาทิเช่น Cen OS , Red hat  หรือที่ใช้งานกันทั้วไป อย่าง Ubuntu  เป็นต้น

สำหรับเรื่องที่ผมจะแนะนำ และกล่าวมายืดยาววันนี้ คงจะแนะนำจากประสบการณ์การใช้งานและปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเจ้า Ubuntu  นะครับ เรื่องของเรื่องผมลงมันแล้วในเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี แหละครับ แต่ปัญหาที่ผมเจอคือว่า Font  หรือแบบอักษรที่เคบใช้งานในระบบ Windows  นั้นไม่มีใน Ubuntu เลยต้องหาวิธีการติดตั้ง ซึ่งจากการประมวลข้อมูลจากเอกสารและเว็บไซต์ต่าง ๆ นั้น สามารถสรุปขั้นตอนการติดตั้งรูปแบบอักษรให้สามารถใช้งานได้ดังนี้นะครับ

ขั้นตอนการติดตั้งรูปแบบอักษร
1. ใช้คำสั่ง sudo apt-get update เพื่ออัปเดต packages
ภาพที่ 1 ใช้คำสั่ง sudo apt-get update เพื่ออัปเดต packages
2. ใช้คำสั่ง sudo apt-get install ttf-thai-tlwg xfonts-thai xfonts-thai-etl xfonts-thai-manop xfonts-thai-nectec xfonts-thai-poonlap xfonts-thai-vor เพื่อติดตั้ง font thai ที่มีคนคิดขึ้นมา
3. ใช้คำสั่ง sudo apt-get install msttcorefonts เพื่อติดตั้ง font ของไมโครซอฟต์
ภาพที่ 2 ใช้คำสั่ง sudo apt-get install msttcorefonts เพื่อติดตั้ง font ของไมโครซอฟต์

หากเป็นฟอนต์ที่มีคนสร้างขึ้นมาเองในรูปแบบไฟล์ *.ttf มีขั้นตอนดังนี้
1. สร้างไดเรกทอรี ~/.fonts แล้วคัดลอกไฟล์ *.ttf มาไว้ในไดเรกทอรีนี้
2. แก้ไขไฟล์ ~/.fonts.conf โดยให้มีการ match ของฟอนต์ เช่น
AngsanaUPC
Angsana New
Arietta
3. รันคำสั่ง fc-cache -f -v




สุดท้ายนะครับ หากท่ายไม่อยากจะพิมพ์คำสั่งใน Terminal  ท่านสามารถ Copy  คำสั่งจากขั้นตอนได้เลยนะครับ
โดยมีเทคนิคคือ ให้ท่าน  Copy  คำสั่งตามปกติ แล้วตอนที่จำนำไปวางใน Terminal  ให้กด Shift+Ctrl+V พร้อมกันนะครับ

ขอให้สนุกกับการใช้งาน Ubuntu  ครับ