ขั้นตอนการ set ADHOC ให้กับ Window 7 Starter
วันนี้ผมกำลังนั่งเตรียมเอกสารการสอนรายวิชาหนึ่ง ก็นึกขึ้นได้ว่าปลายสัปดาห์จะต้องออกไปทำกิจกรรมกับทีมงานสโมสรนักศึกษานอกสถานที่ และต้องทำกิจกรรมกลุ่ม ในฐานะที่เป็นอาจารย์ทางด้าน IT จำเป็นจะต้องทำการนำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมไปด้วย
สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือคอมพิวเตอร์ notebook printer และ internet นอกเหนือจาก internet จากโทรศัพท์มือถือแล้ว เวลาทำงานกลุ่มกัน อาจจะไม่สะดวกสักเท่าไร air card จะเป็นอุปกรณืที่จำเป็นและสำคัญมาก
ผมนั่งคิดว่าเราจะทำการแชร์อินเทอร์เน็ตอย่างไรดี เนื่องจากถ้าเราจะใช้อินเทอร์เน็ตนั้นที่โรงแรมที่พักมีให้บริการอยู้แล้ว ที่แน่นอนว่า ค่าใช้จ่ายต้องแพงด้วยแน่ ๆ ผมเลยคิดได้ว่าเมื่อก่อนเคยทำการสร้างระบบ ADHOC คอมพิวเตอร์ใช้งานชั่วคราวแชร์ไฟล์ อินเทอร์เน็ตกันอยู่กับกลุ่มเพื่อน ๆ และทีมงาน
วันนี้ผมเลยทดลอง set ADHOC เครื่องคอมพิวเตอร์ Netbook คู่ใจของผมดู ก็ไม่สามารถติดตั้งได้ เพราะเป็น Window 7 Starter หาเมนูในการ set เท่าไรก็ไม่เจอ สืบข้อมูลไปจนพบว่า ใน window 7 Starter นั้น ไม่มีฟังก์ชั่นของ ADHOC แสดงไว้ในส่วนของ Network Share
สำหรับโหมดการเชื่อมต่อไร้สายแบบ Ad-hoc จะเป็นวิธีที่คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ผ่าน Access point หรือ Router ซึ่งการสื่อสารด้วยโหมดนี้จะทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในโหมดเดียวกันและอยู่ใน ละแวกใกล้เคียงสามารถค้นพบ และสื่อสารกันได้แบบ peer-to-peer นั่นเอง
ส่วนขั้นตอนการ set ADHOC ให้กับ Window 7 Starter นั้น สามารถทำได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
คลิกเมนู Start โดยในช่อง Search พิมพ์คำว่า "adhoc" ก็จะพบฟังก์ชันดังกล่าวแล้ว ซึ่งจะง่ายกว่าใน window ตัวอื่นๆ ที่มีวิธีการหรือ ขั้นตอนที่ซับซ้อน ดังภาพ
|
รูปที่ 1 การติดตั้ง ad hoc บน window 7 starter |
ขั้นตอนที่ 2
ระบบจะแสดงหน้าต่างสำหรับการติดตั้งดังรูปที่ 2 ให้ท่านกดปุ่ม next เพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป
|
รูปที่ 2 หน้าต่างการติดตั้ง AD HOC บน window 7 stater |
ขั้นตอนที่3
ขั้นตอนนี้จะเป็นการตั้งค่าต่าง ๆ ให้กับระบบ โดยมีรายละเอียดการตั้งค่าต่าง ๆ ดังนี้
|
รูปที่ 3 แสดงการตั้งค่าต่าง ๆ ของการ set AD HOC บน window 7 starter |
Network Name : ตั้งชื่อของ Network ที่จะสร้าง
Security Type : เลือกรูปแบบของระบบรักษาความปลอดภัย ในที่นี้เลือกเป็น WPA2-Personal
แต่หากไม่ต้องการให้มี password (เครื่องใครก็เชื่อมต่อได้) ก็เลือกเป็น No
authentication (Open)
โดยรูปแบบของการรักษาความปลอดภัย โดยมี 3 รูปแบบดังนี้
- No Authentication (Open) : ไม่ต้องการใส่รหัสผ่านในการเข้าใช้งาน
- WEP : ความปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัวเสมือนระบบที่ใช้สาย
- WPA2-Personal : Wi-Fi Protected Access (WPA) มีความปลอดภัยมากกว่า WEP
- ** รายละเอียดเกี่ยวกับ WEP และ WPA จะกล่าวในบทความครั้งต่อไปนะครับ **
Security key : ส่วนนี้ ให้ผู้ใช้งานใส่รหัสตามต้องการเพื่อเป็นการป้องกันการเข้าใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยทั่วไปจะตั้งรหัสไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษรนะครับ
|
รูปที่ 4 ขั้นตอนการตั่งค่ารูปแบบรหัสผ่าน และ การใส่รหัวผ่านให้ AD HOC |
ขั้นตอนที่ 4 กดปุ่ม Next เพื่อดำเนินการต่อไป
|
รูปที่ 5 แสดงการเชื่อมต่อของระบบกับเครื่องเครือข่าย |
|
รูปที่ 6 แสดงชื่อเครือข่ายที่ติดตั้งพร้อมใช้งาน |
|
รูปที่ 7 แสดงเครือข่าย AD Hoc ที่ติดตั้งเสร็จสิ้น พร้อมใช้งาน |
|
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก konmun.com
ความจริง แล้ว ประเด็นที่ทำให้พบคุณสมบัติดังกล่าวอยู่ใน Windows 7 Starter นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้ เนื่องจากรูปแบบการอัพเกรดไปใช้ระบบปฎิบัติการเวอร์ชันต่างๆ ของ Windows 7 ซึ่งสิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำคือ ซื้อไลเซนส์ที่ถูกต้องมาป้อนให้กับระบบ โดยมันจะแตกต่างจาก Windows Vista ที่ต้องยึดติดกับแผ่นซีดี และต้องมีการติดตั้งไฟล์เพิ่ม นั่นหมายความว่า ไฟล์โปรแกรมทั้งหมดได้ถูกติดตั้งไว้ในฮาร์ดดิสก์แล้วไม่ว่าจะเป็น Windows 7 เวอร์ชันอะไรก็ตาม สิ่งที่ไฟล์เหล่านี้ต้องการคือ การกระตุ้นด้วยคีย์จึงจะใช้งานได้ ซึ่งความจริงในกรณีของ ad-hoc networking มันไม่น่าจะทำงานได้ แต่ก็ทำงานได้ (โค้ดถูกแอคติเวทแล้ว หรือไม่ต้องแอคติเวท) งานนี้น่าจะเกิดจากข้อผิดพลาดบางอย่าง (ที่ผู้ใช้ Windows 7 Starter ไม่โกรธ) ซึ่งคาดว่า มันจะถูกแก้ไขในอนาคต เอาเป็นว่า
คุณผู้อ่านท่านใดทีใช้ Windows 7 Starter อยู่ล่ะก็ ลองทำตามดูนะครับ ส่วนจะได้ผล หรือไม่ได้ผลอย่างไร? รบกวนแวะมาเล่าสู่กันฟังในคอมเมนต์ข้างล่างนี้ด้วยครับ